อารยธรรมเอเชียใต้

1.อารยธรรมจีน
        ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่งโดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรร5000ปีรากฐานที่สำ คัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง 
          อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ

          ลุ่มแม่น้ำฮวงโห พบความเจริญที่เรียกว่า วัฒนธรรมหยางเชา ( Yang Shao Culture ) พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาเป็นลายเขียนสี มักเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และพบใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็นรูปลายจักสาน ลายเชือกทาบ
          ลุ่มน้ำแยงซี ( Yangtze ) บริเวณมณฑลชานตุงพบ วัฒนธรรมหลงซาน ( Lung Shan Culture ) พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียดสีดำขัดมันเงา คุณภาพดีเนื้อบางและแกร่ง เป็นภาชนะ 3 ขา 
  • ราชวงศ์ของจีน
สมัยประวัติศาสตร์ของจีนแบ่งได้ 4 ยุค
          - ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง สิ้นสุดสมัยราชวงศ์โจว
          - ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น จนถึงปลายราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
          - ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มปลายราชวงศ์เช็งจนถึงการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม
         - ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์จนถึงปัจจุบัน 
อารยธรรมจีนในสมัยราชวงศ์ต่างๆ มีดังนี้ 
           ราชวงศ์ชาง ( Shang Dynasty , 1776 – 1,122 ปี ก่อนคริสต์ศักราช )เป็นราชวงศ์แรกของจีน 
           1.มีการปกครองแบบนครรัฐ 
           2. มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรก พบจารึกบนกระดองเต่า และกระดูกวัว เรื่องที่จารึกส่วนใหญ่เป็นการทำนายโชคชะตาจึงเรียกว่า “กระดูกเสี่ยงทาย” 
           3. มีความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ อักษรจีนจารึกบนกระดองเต่า
           ราชวงศ์โจว( Chou Dynasty, 1,122-221 ปี ก่อนคริสต์ศักราช )
           1. แนวความคิดด้านการปกครอง เชื่อเรื่องกษัตริย์เป็น “โอรสแห่งสวรรค์ สวรรค์มอบอำนาจให้มาปกครองมนุษย์เรียกว่า “อาณัตแห่งสวรรค์
           2. เริ่มต้นยุคศักดินาของจีน
           3. เกิดลัทธิขงจื๊อ ที่มีแนวทาง
           4. เป็นแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม
           5. เน้นความสัมพันธ์และการทำหน้าที่ของผู้คนในสังคม ระหว่างจักรพรรดิกับราษฎร บิดากับบุตร พี่ชายกับน้องชาย สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน
           6. เน้นความกตัญญู เคารพผู้อาวุโส ให้ความสำคัญกับครอบครัว
           7. เน้นความสำคัญของการศึกษา
           8. เกิดลัทธิเต๋า โดยเล่าจื๊อ ที่มีแนวทาง
           9. เน้นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ต้องมีระเบียบแบบแผนพิธีรีตองใดใด
           10. เน้นปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ
           11. ลัทธินี้มีอิทธิพลต่อศิลปิน กวี และจิตรกรจีน
           12. คำสอนทั้งสองลัทธิเป็นที่พึ่งทางใจของผู้คน
           ราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน( Chin Dynasty , 221-206 ปี ก่อนคริสต์ศักราช )
          - จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่สามารถรวมดินแดนของจีนให้เป็นจักรวรรดิ เป็นครั้งแรกคือ พระเจ้าชิวั่งตี่ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นผู้ให้สร้าง กำแพงเมืองจีน
          - มีการใช้เหรียญกษาปณ์ มาตราชั่ง ตวง วัด
                                              
กำแพงเมืองจีน

           ราชวงศ์ฮั่น( Han Dynasty , 206 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง ค.ศ.220 )
          - เป็นยุคทองด้านการค้าของจีน มีการค้าขายกับอาณาจักรโรมัน อาหรับ และอินเดีย โดยเส้นทางการค้าที่เรียกว่า เส้นทางสายไหม( Silk Rood )
          - ลัทธิขงจื้อ คำสอนถูกนำมาใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ
          - มีการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเรียกว่า จอหงวน
                                          
เส้นทางสายไหม

           ราชวงศ์สุย( Sui Dynasty , ค.ศ.589 – 618 )
          - เป็นยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก
          - มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม
           ราชวงศ์ถัง( Tang Dynasty , ค.ศ. 618-907 )
          - ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน นครฉางอานเป็นศูนย์กลางของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้น
          - พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระภิกษุ (ถังซำจั๋ง) เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎก ในชมพูทวีป
          - เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้
          - ศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง
           ราชวงศ์ซ้อง( Sung Dynasty , ค.ศ. 960 – 1279 )
          - มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภา
          - รู้จักการใช้เข็มทิศ
          - รู้จักการใช้ลูกคิด
          - ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ
          - รักษาโรคด้วยการฝังเข็ม
           ราชวงศ์หยวน( Yuan Dynasty , ค.ศ. 1279-1368 )
          - เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน ฮ่องเต้องค์แรกคือ กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้
          - ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเมืองเวนีส อิตาลี
           ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง( Ming Dynasty , ค.ศ. 1368-1644 )
          - วรรณกรรม นิยมการเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่าการใช้ภาษาเขียน มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สามก๊ก ไซอิ๋ว
          - ส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล
          - สร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (วังต้องห้าม)
           ราชวงศ์ชิงหรือเช็ง( Ching Dynasty ค.ศ. 1644-1912 )
          - เป็นราชวงศ์เผ่าแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน
          - เริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง
          - ปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารประเทศมาก
  • ศิลปวัฒนธรรมของจีน 
          จิตรกรรม
          มีวิวัฒนาการมาจากการเขียนตัวอักษรจีนจารึกบนกระดูกเสี่ยงทายเพราะตัวอักษรจีนมีลักษณะเหมือนรูปภาพงานจิตรกรรมจีนรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการเขียนภาพและแกะสลักบนแผ่นหิน ที่นิยมมากคือ การเขียนภาพบนผ้าไหม ภาพวาดเป็นเรื่องเล่าในตำราขงจื๊อพระพุทธศาสนาและภาพธรรมชาติสมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาการใช้พู่กันสีและกระดาษภาพส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า
          ประติมากรรม
          ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ทำจากดินสีแดง มีลวดลาย แดง ดำ และขาวเป็นลวดลายเรขาคณิต
          สมัยราชวงศ์ชาง มีการแกะสลักงาช้าง หินอ่อน และหยกตามความเชื่อและความนิยมของชาวจีน ที่เชื่อว่า หยก ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล ความสุขสงบ ความรอบรู้ ความ กล้าหาญ ภาชนะสำริดเป็นหม้อสามขา
          สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาเครื่องเคลือบดินเผาเป็นเคลือบ 3 สีคือ เหลือง น้ำเงิน เขียว ส่วนสีเขียวไข่กามีชื่อเสียงมากในสมัยราชวงศ์ซ้อง ส่วนพระพุทธรูปนิยมสร้างในสมัยราชวงศ์ถัง ทั้งงานหล่อสำริดและแกะสลักจากหิน ซึ่งมีสัดส่วนงดงาม เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียและจีนที่มีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่าเทพเจ้า นอกจากนี้มีการปั้นรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม
          สมัยราชวงศ์เหม็ง เครื่องเคลือบได้พัฒนาจนกลายเป็นสินค้าออก คือ เครื่องลายครามและลายสีแดง ถึงราชวงศ์ชิง เครื่องเคลือบจะนิยมสีสันสดใส เช่น เขียว แดง ชมพู
          สถาปัตยกรรม
          กำแพงเมืองจีน สร้างในสมัยราชวงศ์จิ๋น เพื่อป้องกันการ รุกรานของมองโกล
                                   
                                       à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ กำแพงเมืองจีน
                             
        เมืองปักกิ่ง สร้างในสมัยราชวงศ์หงวน โดยกุบไลข่าน ซึ่งได้รับการยกย่องทางด้านการวาง ผังเมือง ส่วนพระราชวังปักกิ่งสร้างในสมัยราชวงศ์เหม็ง
          พระราชวังฤดูร้อน สร้างในสมัยราชวงศ์เช็ง โดยพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างยุโรปและจีนโบราณ

                                      à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ พระราชวังฤดูร้อน
          วรรณกรรม

                                       à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ สามก๊ก
          สามก๊ก สันนิษฐานว่าเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องราวของความแตกแยกในจีนตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศจิ๋นจนถึงราชวงศ์ฮั่น
ซ้องกั๋ง เป็นเรื่องประท้วงสังคม เรื่องราวความทุกข์ของผู้คนในมือชนชั้นผู้ปกครอง สะท้อนความทุกข์ของชาวจีนภายใต้การปกครองของพวกมองโกล
หงโหลวเมิ่ง หรือ ความฝันในหอแดง เด่นที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เรื่องราวเต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดี อิจฉาริษยากัน ผู้อ่านจะรู้สึกเศร้าสลดต่อชะตาชีวิตของพระเอกนางเอกเนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นสังคมศักดินาของจีนที่กำลังเสื่อมโทรมก่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมเข้าสู่ยุคใหม่ บันทึกประวัติศาสตร์ ของ สื่อหม่าเฉียน
          อารยธรรมจีนแผ่ขยายขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวางทั้งในเอเชียและยุโรป อันเป็นผลมาจากการติดต่อทางการทูต การค้า การศึกษา ตลอดจนการเผยแผ่ศาสนา อย่างไรก็ตามลักษณะการถ่ายทอดแตกต่างกันออกไป ดินแดนที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนเป็นเวลานาน เช่น เกาหลี และเวียดนาม จะได้รับอารยธรรมจีนอย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านวัฒนธรรม การเมือง ขนบธรรมเนียมประเพณี การสร้างสรรค์ และการแสดงออกทางศิลปะ ทั้งนี้เพราะราชสำนักจีนจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและบังคับให้ประเทศทั้งสองรับวัฒนธรรมจีนโดยตรง
  • การแพร่ขยายและการถ่ายทอดอารยธรรมจีนในสมัยต่างๆ
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อารยธรรมจีนได้รับการยอมรับในขอบเขตจำกัดมาก ที่เห็นอย่างชัดเจนคือ การยอมรับระบบบรรณาการของจีน
          ในเอเชียใต้ ประเทศที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีนอย่างใกล้ชิด คือ อินเดีย พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียแพร่หลายเข้ามาในจีนจนกระทั่งเป็นศาสนาสำคัญที่ชาวจีนนับถือ นอกจากนี้ศิลปะอินเดียยังมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะบางอย่างของจีน เช่น ประติมากรรมที่เป็นพระพุทธรูป
          ส่วนภูมิภาคเอเชียกลางและตะวันออกกลางนั้น เนื่องจากบริเวณที่เส้นทางการค้าสานแพรไหมผ่านจึงทำหน้าที่เป็นสื่อกลางนำอารยธรรมตะวันตกและจีนมาพบกัน อารยธรรมจีนที่เผยแพร่ไป เช่น การแพทย์ การเลี้ยงไหม กระดาษ การพิมพ์ และดินปืน เป็นต้น ซึ่งชาวอาหรับจะนำไปเผยแพร่แก่ชาวยุโรปอีกต่อหนึ่ง


2.อารยธรรมอินเดีย
         อินเดีย เป็นต้นสายธารทางวัฒนธรรมของชาติตะวันออก ( ชนชาติในทวีปเอเชีย ) หลายชาติ เป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก บางทีเรียกว่า แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ” ( Indus Civilization ) 
  • ราชวงศ์ของอินเดีย
ราชวงศ์กุษาณะ ( ประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ.320 ) พวกกุษาณะ (Kushana ) เป็น ชนต่างชาติที่เข้ามารุกรานและตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้ากนิษกะ รัชสมัยของพระองค์อินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการแพทย์
นอก จากนั้น ยังทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ( นิกายมหายาน ) ให้เจริญรุ่งเรือง โดยจัดส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระศาสนายังจีนและทิเบต มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีศิลปะงดงาม และสร้างเจดีย์ใหญ่ที่เมืองเปชะวาร์






สมัยหลังราชวงศ์คุปตะ หรือยุคกลางของอินเดีย ( ค.ศ.550 – 1206 ) เป็นยุคที่จักรวรรดิแตกแยกเป็นแคว้นหรืออาณาจักรจำนวนมาก ต่างมีราชวงศ์แยกปกครองกันเอง
 สมัยสุลต่านแห่งเดลฮี หรืออาณาจักรเดลฮี ( ค.ศ. 1206-1526 ) เป็นยุคที่พวกมุสลิมเข้ามาปกครองอินเดีย มีสุลต่านเป็นผู้ปกครองที่เมืองเดลฮี


  สมัยจักรวรรดิโมกุล ( Mughul ) ประมาณ ค.ศ. 1526 – 1858 พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุลได้รวบรวมอินเดียให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นจักรวรรดิอิสลามและเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย โดยอินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ. 1858
กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้าอักบาร์มหาราช ( Akbar ) ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน และในสมัยของชาห์ เจฮัน ( Shah Jahan ) ทรงสร้าง ทัชมาฮัล” ( Taj Mahal ) ซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานศิลปะอินเดียและเปอร์เซียที่มีความงดงามยิ่ง 
  • ศิลปะวัฒนธรรมของอินเดีย
1. สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรม อินเดียได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เซีย (ลานด้านใน ประตูโค้ง) ที่เมืองหลวงใหม่ของพระเจ้าอัคบาร์ คือ ฟาเตห์ปูร์สิครี ใกล้เมืองอัครา แสดงสถาปัตยกรรมแบบโมกุลแท้ในการสร้างราชวัง สุเหร่า เช่นเดียวกับหลุมศพของพระเจ้าอัคบาร์ที่สีกันดารา และ วัดโก-แมนดาล ที่โอไดปูร์ แต่งานที่เด่นที่สุด คือ ทัชมาฮัล ประดับด้วยหินมีค่า บนยอดเป็นหินสีขาว เส้นทุกเส้นเข้ากันได้อย่างงดงามกับสวน และน้ำพุ นับเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในโลก นอกจากนั้นมีสุเหร่ามุกของเมืองอัครา เกิดนิกายขึ้นหลายนิกายในหมุ่คนฮินดู เช่น ตันตริก ซิก มาดวา ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีซากเมืองฮารับปาและโมเฮนโจดาโร ทำให้เห็นว่ามีการวางผังเมืองอย่างดี มีสาธาร- ณูประโภคอำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น ถนน บ่อน้ำ ประปา ซึ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม ซาก พระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรและตักศิลา สถูปและเสาแปดเหลี่ยม ที่สำคัญคือ สถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ) และสุสานทัชมาฮาล สร้างด้วยหินอ่อน เป็นการผสมระหว่างศิลปะอินเดียและเปอร์เชีย



สถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ)


สุสานทัชมาฮาล

2. ประติมากรรม

เกี่ยวข้องกับศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูปแบบคันธาระ พระพุทธรูปแบบมถุรา พระพุทธรูปแบบอมราวดี ภาพสลักนูนที่มหาพลิปุลัม ได้รับการยกย่องว่ามหัศจรรย์




พระพุทธรูปแบบอมราวดี 


พระพุทธรูปแบบคันธาระ 


พระพุทธรูปแบบมถุรา
3. จิตรกรรม 
จิตรกรรม อินเดียตามประวัติศาสตร์แล้ว วิวัฒนาการมากจากการเขียนภาพบุคคลในศาสนาและพระมหากษัตริย์ จิตรกรรมอินเดียเป็นคำที่มาจากตระกูลการเขียนหลายตระกูลที่เกิดขึ้นในอนุ ทวีปอินเดีย ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปมีตั้งแต่จิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ของถ้ำเอลเลรา (Ellora Caves) ไปจนถึงงานที่ละเอียดลออของจุลจิตรกรรมของจิตรกรรมโมกุล และงานโลหะจากตระกูล Tanjore ส่วนจิตรกรรมจากแคว้นคันธาระ-ตักกสิลา


“พระรามกับสีดาในป่า” แบบปัญจาบ ค.ศ. 1780

เป็น จิตรกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากจิตรกรรมเปอร์เซียทางตะวันตก จิตรกรรมในอินเดียตะวันออกวิวัฒนาการในบริเวณตระกูลการเขียนของนาลันทา ที่เป็นงานที่ได้รับอิทธิพลจากตำนานเทพอินเดีย
สมัย คุปตะ และหลังสมัยคุปตะ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอินเดียพบงานจิตรกรรมที่ ผนังถ้ำอชันตะ เป็นภาพเขียนในพระพุทธศาสนาแสดงถึงชาดกต่างๆ ที่งดงามมาก ความสามารถในการวาดเส้นและการอาศัยเงามืดบริเวณขอบภาพ ทำให้ภาพแลดูเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกสมจริง

ภาพจิตรกรรมบนผนังถ้ำอชันตะ

4. นาฏศิลป์และสังคีตศิลป์
เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าตามคัมภีร์พระเวท ส่วน บทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ถือเป็นแบบแผนการร้องที่เก่าแก่ที่สุดใน สังคีตศิลป์ของอินเดีย แบ่งเป็นดนตรีศาสนา ดนตรีในราชสำนักและดนตรีท้องถิ่น เครื่องดนตรีสำคัญ คือ วีณา หรือพิณ ใช้สำหรับดีด เวณุหรือขลุ่ย และกลอง

Mohiniyattam
เป็นการแสดงที่มีการใช้ภาษาท่าในการสื่อความหมาย แสดงเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อพระวิษณุ แหล่งกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย
5. วรรณกรรม
วรรณกรรม อินเดียที่มีอิทธิพล ได้แก่ รามายณะ มหาภารตะ คัมภีร์ปุราณะและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับธรรมเนียมกษัตริย์ การสืบราชวงศ์ตามแบบธรรมเนียมโบราณของราชวงศ์ในลุ่มแม่น้ำคงคา วรรณกรรมอินเดียมีอิทธิพลต่อชีวิตชาวบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย โดยการเล่า การอ่านนิทานแสดงเกี่ยวกับเนื้อเรื่องในวรรณกรรม การแสดงหุ่นกระบอก หนัง ละครที่มีเนื้อหาของวรรณกรรม รามายณะ มหากาพย์ และชาดก

รามาวตาร หรือ รามจันทราวตาร หรือ พระราม จากมหากาพย์ รามายณะ ชาวไทยรู้จักกันในชื่อเรื่องรามเกียรติ์
ทศกัณฐ์ หรือ อสูรราพณ์ ศัตรูของพระราม
พระราม และ พระนางสีดา
หนุมานเป็นอวตารแห่งพระศิวะ เพื่อมาช่วยพระวิษณุในมหากาพย์เรื่องนี้

  • ความเจริญรุ่งเรือง
แหล่งอารยธรรมอินเดียโบราณที่เก่าแก่ ได้แก่ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (Indus Civillzation) ในประเทศปากีสถานในปัจจุบัน มีความเจริญในช่วงประมาณ 2500-1500 ปีก่อน ค.ศ. ความเจริญที่สำคัญดังนี้
  1. ซากเมืองโบราณ 2 แห่ง คือ เมืองฮารับปา (Harappa) และเมืองโมเฮนโจ-ดาโร (Mohenjo-Daro) เมืองทั้งสองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสินธุมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบ มีตลาด เขตที่อยู่อาศัยและศาสนสถาน
  2. พวกทราวิท หรือดราวิเดียน (Dravidians) คือ กลุ่มชนที่รู้จักใช้โลหะ (ทองแดง) ทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ใช้อิฐก่อสร้างบ้าน ทอผ้า เพาะปลูก สร้างระบบการชลประทาน และการเขียนอักษรรูปภาพ
  3. พวกอินโด-อารยัน (Indo-Aryans) เป็นชนเผ่าเร่ร่อนอพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชียเข้ารุกรานอินเดียเมื่อประมาณ 1500 ปีก่อน ค.ศ. โดยขับไล่พวกดราวิเดียนให้ถอยร่นลงไปทางตอนใต้ ชนชาติอารยันจึงกลายเป็นผู้สร้างสรรค์อารยธรรมให้แก่อินเดียในเวลาต่อมา


  • การแพร่ขยายและถ่ายทอดอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดีย แพร่ขยายออกไปสู่ภูมิภาคต่างๆทั่วทวีปเอเชีย โดยผ่านทางการค้า ศาสนา การเมือง การทหาร และได้ผสมผสานเข้ากับอารยธรรมของแต่ละประเทศจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมสังคมนั้นๆ
ในเอเชียตะวันออก พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อชาวจีนทั้งในฐานะศาสนาสำคัญ และในฐานะที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะของจีน
ภูมิภาคเอเชียกลาง อารยธรรมอินเดียที่ถ่ายทอดให้เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7เมื่อพวกมุสลิมอาหรับ ซึ่งมีอำนาจในตะวันออกกลางนำวิทยาการหลายอย่างของอินเดียไปใช้ ได้แก่ การแพทย์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นต้น ขณะเดียวกันอินเดียก็รับอารยธรรมบางอย่างทั้งของเปอร์เชียและกรีก โดยเฉพาะด้านศิลปกรรม ประติมากรรม เช่น พระพุทธรูปศิลปะคันธาระซึ่งเป็นอิทธิพลจากกรีก ส่วนอิทธิพลของเปอร์เชีย ปรากฏในรูปการปกครอง สถาปัตยกรรม เช่น พระราชวัง การเจาะภูเขาเป็นถ้ำเพื่อสร้างศาสนสถาน
ภูมิภาคที่ปรากฏอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียมากที่สุดคือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้า พราหมณ์ และภิกษุสงฆ์ชาวอินเดียเดินทางมาและนำอารยธรรมมาเผยแพร่ อารยธรรมที่ปรากฏอยู่มีแทบทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านศาสนา ความเชื่อ การปกครอง ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธ ได้หล่อหลอมจนกลายเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้










ภาพจิตรกรรมบนผนังถ้ำอชันตะ

  • อารยธรรมอินเดียในสมัยต่างๆ

1.  สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโลหะของอินเดียเริ่มเมื่อผู้คนรู้จักใช้ทองแดงและสำริด เมื่อประมาณ 2,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช และรู้จักใช้เหล็กในเวลาต่อมา พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่ง ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ

     (1) เมืองโมเฮนโจ ดาโร ( Mohenjo Daro ) ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน


                 (2) เมืองฮารับปา ( Harappa ) ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน


2.  สมัยประวัติศาสตร์ อินเดียเข้าสู่ สมัยประวัติศาสตร์” เมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ประมาณ 700ปี ก่อนคริสต์ศักราช โดยชนเผ่าอินโด – อารยัน ( Indo – Aryan ) ซึ่งตั้งถิ่นฐานในบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคา
สมัยประวัติศาสตร์ของอินเดียแบ่งเป็น 3 ยุค ดังนี้

    (1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่การถือกำเนิดตัวอักษรอินเดียโบราณ ที่เรียกว่า บรามิ ลิปิ” ( Brahmi lipi ) เมื่อประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช และสิ้นสุดในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์คุปตะ ( Gupta ) เป็นยุคสมัยที่ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพระพุทธศาสนาได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว
(2) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่เมื่อราชวงศ์คุปะสิ้นสุดลง ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อกษัตริย์มุสลิมสถาปนาราชวงศ์โมกุล ( Mughul ) และเข้าปกครองอินเดีย
 (3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ต้นราชวงศ์โมกุล ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1947




อารยธรรมอินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอายุเก่าแก่ไม่แพ้อารยธรรมแหล่งอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1.  สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ( ประมาณ 2,500-1,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ) ถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม กึ่งก่อนประวัติศาสตร์” เพราะมีการค้นพบหลักฐานจารึกเป็นตัวอักษรโบราณแล้วแต่ยังไม่มีผู้ใดอ่านออก และไม่แน่ใจว่าเป็นตัวอักษรหรือภาษาเขียนจริงหรือไม่
ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองโมเฮนโจ – ดาโร และเมืองฮารัปปา ริมฝั่งแม่น้ำสินธุประเทศปากีสถานในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเดิม ที่เรียกว่า ทราวิฑ หรือพวกดราวิเดียน ( Dravidian )



2.  สมัยพระเวท ( ประมาณ 1,500-600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นอารยธรรมของชนเผ่าอินโด-อารยัน ( Indo-Aryan ) ซึ่ง อพยพมาจากเอเชียกลาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคาโดยขับไล่ชนพื้น เมืองทราวิฑให้ถอยร่นลงไปทางตอนใต้ของอินเดีย
สมัยพระเวทแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ หลักฐานที่ทำให้ทราบเรื่องราวของยุคสมัยนี้ คือ คัมภีร์พระเวท” ซึ่งเป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ นอกจากนี้ยังมีบทประพันธ์มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่อีก 2 เรื่อง คือ มหากาพย์รามายณะและ มหาภารตะ บางทีจึงเรียกว่าเป็นยุคมหากาพย์
3.  สมัยพุทธกาล หรือสมัยก่อนราชวงศ์เมารยะ ( Maurya ) ประมาณ 600-300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นช่วงที่อินเดียถือกำเนิดศาสนาที่สำคัญ 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธและศาสนาเชน
4.  สมัยจักรวรรดิเมารยะ ( Maurya ) ประมาณ 321-184 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าจันทรคุปต์ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เมารยะได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพู ทวีปให้เป็นปึกแผ่นภายใต้จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกของอินเดีย 
สมัยราชวงศ์เมารยะ พระพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์ให้เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะในสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช ( Asoka ) ได้ เผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนทั้งใกล้และไกล รวมทั้งดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเผยแพร่เข้าสู่แผ่นดินไทยในยุคสมัยที่ยังเป็นอาณาจักรทวารวดี
5.  สมัยราชวงศ์กุษาณะ ( ประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ.320 ) พวกกุษาณะ (Kushana ) เป็น ชนต่างชาติที่เข้ามารุกรานและตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้ากนิษกะ รัชสมัยของพระองค์อินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการแพทย์
นอก จากนั้น ยังทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ( นิกายมหายาน ) ให้เจริญรุ่งเรือง โดยจัดส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระศาสนายังจีนและทิเบต มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีศิลปะงดงาม และสร้างเจดีย์ใหญ่ที่เมืองเปชะวาร์



6.  สมัยจักรวรรดิคุปตะ ( Gupta ) ประมาณ ค.ศ.320-550 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ต้นราชวงศ์คุปตะได้ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอินเดีย มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง การปกครอง ปรัชญาและศาสนา ตลอดจนการค้าขายกับต่างประเทศ


7.  สมัยหลังราชวงศ์คุปตะ หรือยุคกลางของอินเดีย ( ค.ศ.550 – 1206 ) เป็นยุคที่จักรวรรดิแตกแยกเป็นแคว้นหรืออาณาจักรจำนวนมาก ต่างมีราชวงศ์แยกปกครองกันเอง


8.  สมัยสุลต่านแห่งเดลฮี หรืออาณาจักรเดลฮี ( ค.ศ. 1206-1526 ) เป็นยุคที่พวกมุสลิมเข้ามาปกครองอินเดีย มีสุลต่านเป็นผู้ปกครองที่เมืองเดลฮี


9.  สมัยจักรวรรดิโมกุล ( Mughul ) ประมาณ ค.ศ. 1526 – 1858 พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุลได้รวบรวมอินเดียให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นจักรวรรดิอิสลามและเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย โดยอินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ. 1858
กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้าอักบาร์มหาราช ( Akbar ) ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน และในสมัยของชาห์ เจฮัน ( Shah Jahan ) ทรงสร้าง ทัชมาฮัล” ( Taj Mahal ) ซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานศิลปะอินเดียและเปอร์เซียที่มีความงดงามยิ่ง 

สมัยอาณานิคมอังกฤษ  

    ปลายสมัยอาณาจักรโมกุล กษัตริย์ทรงใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ต้องเพิ่มภาษีและเพิ่มการเกณฑ์แรงงานทำให้ราษฎรอดอยาก และยังกดขี่ทำลายล้างศาสนาฮินดูและชาวฮินดูอย่างรุนแรง
    เกิดความแตกแยกภายในชาติ เป็นเหตุให้อังกฤษค่อยๆเข้าแทรกแซงและครอบครองอินเดียทีละเล็กละน้อย  
   ในที่สุดอังกฤษล้มราชวงศ์โมกุลและครอบครองอินเดียในฐานะอาณานิคมอังกฤษ  
สิ่งที่อังกฤษวางไว้ให้กับอินเดียคือ

      

        -  รากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา 

        -  การศาล การศึกษา

        - ยกเลิกประเพณีบางอย่าง เช่น พิธีสตี (การเผาตัวตายของหญิงฮินดูที่สามีตาย)  



สมัยเอกราช   

     หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการชาตินิยมอินเดียนำโดย มหาตมะ คานธี และ เยาวราลห์ เนห์รู เป็นผู้นำเรียกร้องเอกราช 
มหาตมะ คานธี ใช้หลักอหิงสา (ความไม่เบียดเบียน ความสงบ) ในการเรียกร้องเอกราชจนประสบความสำเร็จ หลังจากได้รับเอกราชอินเดียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย 
3.อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
- กำเนิดในลุ่มแม่น้ำสองสาย คือ ไทกริสและยูเฟรติส เป็นแหล่งอารยธรรมแรกของโลก เมื่อประมาณ 3500 ปี ก่อนค.ศ. เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ท่ามกลางดินแดนทะเลทรายและภูเขา (ปัจจุบันได้แก่ประเทศอิรัก)
- บริเวณที่ราบที่แม่น้ำทั้งสองสายบรรจบกันและไหลลงสู่ทะเล อ่าวเปอร์เซีย เรียกว่า “บาบิโลเนีย”
- โดยเหตุนี้ ทำให้มีชนหลายกลุ่มหลายเผ่าผลัดกันมาตั้งถิ่นฐาน และมีอำนาจในดินแดนแถบนี้
  • ชนเผ่าของเมโสโปเตเมีย
3500 BC.
ชนเผ่าสุเมเรียน Sumerian

-  เป็นชนเผ่าแรกที่เข้าครอบครอง และทำการก่อสร้างระบบชลประทานเป็นชาติแรก
- สังคมของสุเมเรียนยกย่อง เกรงกลัวเทพเจ้า นิยมก่อสร้างศาสนสถานเรียกว่า “ซิกกูแรต” สร้างด้วยอิฐตากแห้ง
- ชาวสุเมเรียน เป็นกลุ่มแรกที่ประดิษฐ์อักษร ได้แก่ อักษรลิ่ม หรือ “คูนิฟอร์ม” cuneiform นักประวัติศาสตร์จึงนับเอาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคประวัติศาสตร์
“กิลกาเมซ” Epic of Gilgamesh เป็นมหากาพย์ ที่ถูกแต่งขึ้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับน้ำท่วมโลก
- มีความเจริญทางด้านคณิตศาสตร์ ปฏิทิน และการชั่ง ตวง วัด
                                              


2000 BC. 
ชนเผ่าอามอไรต์ Amorite  

- หลังจากสุเมเรียนเสื่อมอำนาจ ชาวอามอไรต์ Amorite ได้ตั้ง อาณาจักรบาบิโลเนีย Babylonia  ขึ้นมา การปกครองแบบรวมศูนย์ การจัดเก็บภาษี การเกณฑ์ทหาร
- สมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ( 1792-1745 B.C.) ได้มี “ประมวลกฎหมายฮัมมุราบี” เป็นลายลักษณ์อักษร จารึกแผ่นศิลา ยึดถือหลัก ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ในการลงโทษ



ชนเผ่าฮิตไทต์ Hittite
- เข้ายึดครองแทนในดินแดนแถบนี้ เมื่อ 1590 B.C.


ชนเผ่าคัสไซต์ Kassite
- อพยพมาจาก เทือกเขาซากรอส เข้าครอบครองต่อ และมีอายุยาวนานต่อเนื่องกว่า 400 ปี
                                  
                                



800 B.C.
ชนเผ่าอัสซีเรีย
- พวกอัสซีเรียน ได้เข้ายึดครองกรุงบาบิโลน มีศูนย์กลางที่ นิเนเวห์ ตั้งจักรวรรดิอัสซีเรีย Assyrian
- สมัยพระเจ้าอัสชูร์บานิปาล 668-629 B.C. อัสซีเรียมีความเจริญขีดสุด



612 B.C
ชนเผ่าคาลเดีย
. เผ่าคาลเดียน  Chaldean  เข้ายึดครองนิเนเวห์สำเร็จ สถาปนากรุงบาบิโลนขึ้นใหม่
- สมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ 605-562 B.C. สามารถตีเยรูซาเลม และกวาดต้นเชลยมาเป็นจำนวนมาก ได้สร้าง “สวนลอยแห่งบาบิโลน” Hanging Gardens of Babylon
- ชาวคาลเดียน เป็นชาติแรกที่นำเอาความรู้ด้านดาราศาสตร์มาพยากรณ์โชคชะตามนุษย์ และยังสามารถคำนวณด้านดาราศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ


539 B.C.
พระเจ้าไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซีย
เข้ายึดครอง และผนวกเข้ากับจักรวรรดิ์เปอร์เซีย ทำให้ประวัติศาสตร์แถบเมโสโปเตเมียสิ้นสุดลง



ชนชาติอื่นในเอเชียไมเนอร์


ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ระหว่าง ทะเลดำ กับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ปาเลสไตน์ ตุรกี ซีเรีย)


1. ฟินิเชียน  
• 1300-1000 B.C.

  •  เชี่ยวชาญในการเดินเรือทะเล มีเมืองท่าคือ ไทร์ และไซดอน ค้าขายจนถึงตอนเหนือแอฟริกา (เมืองคาร์เทจ Carthage)
  • จากการเปิดกว้างของวัฒนธรรม ทำให้ชาวฟินิเชียนดัดแปลงตัวอักษร เฮียราติก และคูนิฟอร์ม มาเป็น “อัลฟาเบต” Alphabet ต่อมากลายเป็นต้นแบบของภาษากรีก ละติน ชาติตะวันตก และตะวันออก อื่น ๆ ด้วย
                                             


2. ฮีบรู  1400 B.C

• เรียกอีกชื่อว่า “ยิว” เร่ร่อนในทะเลทราย . ถูกจับเป็นทาสที่อียิปต์ ต่อมา “โมเสส” เป็นผู้ช่วยปลดแอก แล้วอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่ปาเลสไตน์ Canaan
• เนื่องจากเป็นชาติที่ไม่เข้มแข็งเรื่องการทหาร จึงถูกชนเผ่าอื่นครอบครองซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระทั่งยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเกิดเป็นประเทศอิสระ ชื่อว่า “อิสราเอล”
• มรดกตกทอดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดได้แก่ “คัมภีร์ไบเบิ้ล” ถือเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญของโลก รวมไปจนถึงการเป็นต้นกำเนินศาสนาคริสต์ และอิสลาม
                                 

  • ศิลปะวัฒนธรรมของเมโสโปเมเตีย
       สถาปัตยกรรมและประติมากรรม ชาวสุเมเรียนคิดค้นการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ อย่างที่นครอูร์พบพระราชวัง ป้อมปราการ และที่มีลักษณะพิเศษคือศาสนสถานมีรูปร่างคล้ายพีระมิดขั้นบันได ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ทำจากดินเหนียวตากแห้ง ใช้เป็นศาสนสถานสำหรับบูชาเทพเจ้าเรียกว่า ซิกกูแรต
        นครคอร์ซาแบด พบสถาปัตยกรรมที่สำคัญ คือ พระราชวังซาร์กอน มีการสร้างกำแพงเมืองล้อมรอบ 1 ชั้น ตั้งอยู่บนฐานสูง ลักษณะเด่นคือ การทำประตูโค้ง (Arch) และการประดับด้วยประติมากรรมทั้งแบบนูนต่ำและแบบลอยตัว ประติมากรรมที่สำคัญ เช่น ประติมากรรมรูปสิงโตมีปีกเหมือนนกและมีหัวเป็นมนุษย์ที่รักษาประตูวังและประติมากรรมเป็นภาพสิงโตตัวเมียที่ถูกล่ากำลังร้องครวญครางที่มีชื่อว่า “สิงโตตัวเมียใกล้ตาย”
        การประดิษฐ์อักษร ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น เริ่มต้นเป็นตัวอักษรภาพ ต่อมาจึงได้ดัดแปลงเป็นเครื่องหมายต่างๆ โดยใช้ “ก้านอ้อ” เขียนลงบนแผ่นดินเหนียวขณะที่ยังอ่อนตัวแล้วนำไปตากแดดหรือเผาให้แห้ง ลักษณะตัวอักษรคล้ายกับลิ่มจึงเรียกว่า “อักษรลิ่ม” หรือ “คูนิฟอร์ม”
        วรรณกรรม ชาวสุเมเรียนมีวรรณกรรมที่ท่องจำสืบต่อกันมาเป็นกาพย์ กลอน ส่วนเรื่องสั้นมีบันทึกไว้บนแผ่นดินเผา งานเขียนส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงและถือว่าเป็นวรรณกรรมเก่าแก่ที่สุดของโลกคือ มหากาพย์กิลล์กาเมช กล่าวถึงการผจญภัยของวีรบุรุษแห่งนครอูรุก ซึ่งเปรียบเสมือนเทพเจ้าในสมัยนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะมีอิทธิพลต่อพระคัมภีร์ของพวกฮีบรูด้วย
        ประมวลกฎหมาย นับได้ว่าเป็นประมวลกฎหมายเก่าแก่ที่สุดในโลก เรียกว่า ประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบี จารึกด้วยตัวอักษรลิ่มอยู่บนแผ่นไดโอไรต์สีดำ สูงประมาณ 8 ฟุต ข้อความในแผ่นหินได้สะท้อนสภาพสังคมของชาวสุเมเรียนเอาไว้ กฎหมายฉบับนี้มีบทลงโทษที่รุนแรงมากเป็นการลงโทษแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน ซึ่งหมายถึง การชดใช้ความผิดด้วยการกระทำอย่างเดียว
        ปฏิทินและระบบการคำนวณ ชาวสุเมเรียนศึกษาการโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดวงดาวต่างๆปฏิทินของชาวสุเมเรียนเป็นแบบจันทรคติ คือ ใน 1 เดือนมี 29 วัน ปีหนึ่งมี 12 เดือน ปีของชาวสุเมเรียนจึงมี 354 วัน แต่ละเดือนแบ่งออกเป็น 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 7-8 วัน วันหนึ่งแบ่งออกเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง กลางคืน 6 ชั่วโมง 1 วันมี 12 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีการคำนวณพื้นที่ของวงกลม พื้นที่สามเหลี่ยมและมาตราชั่งตวงวัด
        เทคโนโลยี ชาวสุเมเรียนเป็นชาติแรกๆ ที่รู้จักทำสำริดเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ โดยนำทองแดงหลอมรวมกับดีบุก แล้วมาประดิษฐ์เป็นคันไถสำริดใช้ในการทำไร่ไถนา ทำให้สามารถผลิตอาหารได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังประดิษฐ์แป้นหมุนสำหรับทำภาชนะดินเผา
        ชาวฮิตไทต์สามารถประดิษฐ์อาวุธทำด้วยเหล็กที่แข็งแกร่งกว่าสำริดทำให้มีชัยชนะครอบครองอาณาจักรบาบิโลเนียและยังมีการประดิษฐ์วงล้อเพื่อใช้กับเกวียนและรถม้าศึก ส่วนชาวอัสซีเรียมีความสามารถด้านการก่อสร้างและศิลปกรรมที่ยังปรากฏจนถึงปัจจุบัน 
  • ความเจริญรุ่งเรือง
 ความเจริญเริ่มขึ้นเมื่อ 3,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช หรือประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว ชนชาติที่สร้างความเจริญ คือ สุเมเรียน บาบิโลน แอสซีเรีย แคลเดียล ฮิตไทต์ ฟินิเซียน เปอร์เซีย ฮิบรู(ยิว) โดยมีความเจริญในด้านต่าง ๆ จากชนชาติที่สำคัญดังนี้

ชาวสุเมเรียน  ความเจริญที่สำคัญ

     
        - การปฏิวัติเกษตรกรรม การเพาะปลูก ประดิษฐ์เครื่องมือ จัดระบบชลประทานขึ้นเป็นครั้งแรก ที่สามารถเอาชนะธรรมชาติด้วยการสร้างทำนบป้องกันน้ำท่วม คลองส่งน้ำและอ่างเก็บน้ำ
        -  วรรณกรรม  มหากาพย์กิลกาเมซเกี่ยวกับการผจญภัยของประมุขและวีรบุรุษ
        -  การประดิษฐ์จานหมุน ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นเครื่องกลชนิดแรกของโลก
        -  การประดิษฐ์อักษรลิ่มหรืออักษรคูนิฟอร์มครั้งแรกของโลก  ที่ทำจากดินเหนียว เพื่อบันทึกการบริหารจัดการการใช้ที่ดิน  ผลผลิต  ค่าเช่า  สัตว์  เมล็ดพันธ์พืชทางการเกษตร การประดิษฐ์อักษรของชาวสุเมเรียน  ใช้เป็นหลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ของโลกได้
        -  ความสามารถเชิงคณิตศาสตร์ในการคิดคำนวณ  การคำนวณพื้นที่วงกลม  การคิดมาตราชั่งตวงวัด  การนับเดือนปีแบบจัรทรคติ  1 ปีมี  12  เดือน  ซึ่งเป็นที่มาของวิชาโหราศาสตร์และดาราศาสตร์
        -  สถาปัตยกรรมขนาดใหญ่  เช่น  เทวสถาน
ซิกูแรต ใช้เป็นสถานที่บูชาเทพเจ้า





    4.เติร์ก เมนิสสถาน

      เติร์กเมนิสถานเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะที่บริเวณรอบทะเลสาบแคสเปียนนั้น อุดมไปด้วยน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งรัฐบาลเติร์กเมนิสถาน ได้มีความพยายามที่จะสร้างท่อส่งก๊าซไปยังตุรกี แต่บริษัทของอเมริกาไม่พอใจ เพราะต้องผ่านอิหร่านก่อน 
      วิถีชีวิต และวัฒนธรรม
              นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ชาวเติร์กเมนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ในสภาพภูมิประเทศที่แห้งแล้ง เป็นชนชาติที่ไม่ชอบความรุนแรง และยังคงยึดถือธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ซึ่งเป็นลักษณะวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม 
      การแต่งกาย
              ชาวเติร์กเมนยังคงรักษาการแต่งกายตั้งเดิมเอาไว้คือ ผุ้ชายสวมกางเกงขายาวหลวมๆ สีน้ำเงิน สวมร้องเท้าบูททับขากางเกง สวมเสื้อเชิ้ตสีขาว ทับด้วยเสื้อคลุมไหมสีแดงมีแถบสีทอง สวมหมวกขนสัตว์ ชุดผู้หญิงเป็นกระโปรงยาวคลุมข้อเท้าสีแดง ประดับด้วยแผ่นเงิน หรือโลหะสวมกางเกงขายาวด้านใน ผูกผมไว้ด้านหลัง และคลุมศีรษะด้วยผ้า 
      อาหาร 
         
      Manti                                                                             Chorek           
      อาหารพื้นเมืองที่น่าสนใจของชาวเติร์ก คือ Manti เป็นแป้งสอดใส่ด้วยเนื้อบดผสมหัวหอมและฟักทอง แล้วนำไปนึ่ง ส่วนขนมปังที่บริโภคกันอย่างแพร่หลาย คือ Chorek ซึ่งเป็น ขนมปังอบในโอ่ง (อบโดยแปะไว้ในโอ่ง ที่เป็นเตา) ส่วนเครื่องดื่มที่ขึ้นชื่อ คือ นมอูฐหมัก หรือ Chal โดยจะมีรสชาติ ออกเปรี้ยว ซึ่งเครื่องดื่มชนิดนี้นอกจากเป็นที่นิยมของชาวเติร์กแล้ว ยังเป็นที่ชื่นชอบของชาวคาซัคด้วยเช่นกัน
      นอกจากนั้น ชาวเติร์กนิยมดื่มชาเขียว และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ เช่น วอดก้า เนื่องจากหาได้ทั่วไปและมีราคาถูก
      ที่อยู่อาศัย
              ชาวเติร์กเมนใช้ชีวิตเรียบง่านในกระโจมที่ทำด้วยโครงไม้ คลุมด้วยต้นกก ต้นอ้อ และสักหลาด โดยมีพรมเพียงไม่กี่ผืนเป็นเฟอร์นิเจอร์ พรมนอกจากใช้งานเพื่อปูพื้นแล้ว ยังนำมาประดับตกแต่งแขวนไว้ตามผนัง โดยพรมนับเป็นหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของเติร์กเมนิสถาน ปัจจุบันการผลิตพรมโดยมาก มักผลิตเพื่อการค้า 
      ศิลปกรรม
              ลักษณะงานศิลปกรรมมีทั้งที่เป็นศิลปกรรมในศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ สถาปัตยกรรมอิสลามเน้นที่มีซุ่มประตูสูงใหญ่ ทรงสี่เหลี่ยม เจาะช่องทางเข้าเป็นซุ่มโค้งปลายแหลมขึ้น ประดับตกแต่ง ด้วยกระเบื้องสี หรือเขียนลวดลายด้วยสี สถาปัตยกรรมในสาสนาคริสต์เป็นอาคารสูงเพรียว มียอดแหลมสูง อาจมีหลายยอด ตกแต่งอย่างสวยงามในรายละเอียดต่างๆ 
      เทศกาล และประเพณี
              ส่วนมากเป็นเทศกาลทางศาสนาอิสลามเช่น เทศกาลเฉลิมฉลองฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลรอมฎอน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีประเพณีท้องถิ่นคือ ในเดือนเมษายน มีการฉลองม้า Akilteken          มีขบวนพาเหรด และการแข่งม้า ในอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคม เป็นวัน Bakshi เป็นเทศกาลของเพลงพื้นเมือง และอาทิตย์สุดท้ายของเดือนธันวาคม เป็นเทศกาลเก็บเกี่ยว
       การแต่ีงกาย 
      • ผู้ชายสวมชุดสูทที่เรียบง่ายหรือเสื้อแจ็คเก็ต และเนคไทก็เหมาะสมดีแล้ว แต่ในการประชุมพบปะกับหน่วยงานราชการ อาจเลือกชุดสูทที่เป็นทางการขึ้น
      • สำหรับผู้หญิงสวมชุดสูท กระโปรงชุด หรือเสื้อกับกระโปรงก็เหมาะสม
      5.อารยธรรมไทย
      • ราชวงศ์ของไทย

      ายชื่อราชวงศ์

      ราชวงศ์หริภุญชัย (กษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญไชย)

      1. ราชวงศ์พระร่วง (กรุงสุโขทัย)
      2. ราชวงศ์อู่ทอง หรือ ราชวงศ์เชียงราย (กรุงศรีอยุธยา)
      3. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (กรุงศรีอยุธยา)
      4. ราชวงศ์สุโขทัย (กรุงศรีอยุธยา)
      5. ราชวงศ์ปราสาททอง (กรุงศรีอยุธยา)
      6. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง (กรุงศรีอยุธยา)
      7. พระเจ้ากรุงธนบุรี (กรุงธนบุรี)
      8. ราชวงศ์จักรี (กรุงรัตนโกสินทร์)
      9. ราชวงศ์เม็งราย (เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ อาณาจักรล้านนา)
      10. ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) (เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ อาณาจักรหัวเมืองฝ่ายเหนือ)
      • ศิลปะวัฒนธรรมของไทย

      ศาสนา พลเมืองไทยส่วนใหญ่ของประเทศเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา และเป็นศาสนาที่อยู่คู่บ้านบ้านมาช้านานแล้ว ศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมด้านอื่นๆ คนไทยได้ยึดถือเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ทั้งส่วนรวมและส่วนบุคคล จะมีพิธีทางศาสนาพุทธเกี่ยวข้องอยู่เสมอ

      การแต่งกาย การแต่งกายของคนไทยมีแบบฉบับ และมีวิวัฒนาการมานานแล้ว โดยจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน ตามสมัยและโอกาสต่างๆ โดยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่แต่งกายตามสากลอย่างชาวตะวันตก หรือตามแฟชั่นที่แพร่หลายเข้ามา แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังมีจิตใจที่รักในวัฒนธรรมการแต่งกายของไทยแบบดั้งเดิมอยู่ ดังจะเห็นได้จากในงานพิธีกรรมต่างๆ จะมีการรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทย หรือชุดไทย หรือรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทยในชีวิตประจำวัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ชาติอื่นให้ความชื่นชม

      ศิลปกรรม ถือเป็นภูมิปัญญาไทยที่สำคัญ โดยเป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อความสวย

      งามก่อให้เกิดความสุขทางใจ ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากพุทธศาสนา และเป็นการแสดงความเคารพและจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ได้แก่ ผลงานที่ปรากฏตามวัดวาอารามต่างๆ เรือนไทยที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ ศิลปกรรมไทยที่สำคัญได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ วรรณกรรม

      "วัฒนธรรม"

      ภาษาไทย ไทยเรามีภาษาและตัวอักษรเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้ใน พ.ศ.1826 และได้มีการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ เนื่องจากเราได้มีการติดต่อเกี่ยวกับนานาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จึงได้รับวัฒนธรรมภาษาต่างชาติเข้ามาปะปนใช้อยู่ในภาษาไทย แต่ก็ได้มีการดัดแปลงจนกลายเป็นภาษาไทยในที่สุด ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้

      จัดทำโดย

      • ความเจริญรุ่งเรือง
      ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรือง
                     การที่ประเทศไทยสมัยประชาธิปไตยมีความมั่นคงและมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้ามาเป็นสำคัญส่วนเกิดจากปัจจัยสำคัญหลายประการ
                    ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของไทย

      ๑.      พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่มีต่อราษฎรและประเทศชาติ  ทั้งในเรื่องของความดีของราษฎร การเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติในยามที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงครามและการรุกรานจากภายนอก ทำให้ประเทศไทยสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย
      ๒.    การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ในลักษณะที่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญโดยพยายามปรับเปลี่ยนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  ทำให้ประเทศไทยสามารถดำรงอธิปไตยของชาติไว้ได้ ดังเช่น ในสมัยสงครามโลกครั่งที่ ๒ และสมัยที่ไทยกำลังเผชิญกับการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์
      ๓.     การมีทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเล  สำหรับเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของคนไทยและความมั่นคงของประเทศ เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ แก็สธรรมชาติสัตว์น้ำในบริเวณอ่าวไทย เป็นต้น นอกจากนี้  ยังมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกข้าวสำหรับเลี้ยงชีพคนไทยทั่วทุกภาคของประเทศอีกด้วย
      ๔.    การมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ทำให้การพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมดำเนินไปอย่างเป็นระบบตามหลักของการพัฒนา ดังนั้น  สภาพความเป็นอยู่ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม และอื่น ๆ จึงขยายตัวออกไปทำให้ไทยมีความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง
      • อารยธรรมไทยในสมัยต่างๆ
      1.  สมัยก่อนประวัติศาสตร์
              สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ สมัยที่ยังไม่มีลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้ในการสื่อสาร ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ยุคนั้นจึงต้องศึกษาจากเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา รวมทั้งสภาพแวดล้อมเช่น ถ้ำ เพิงผาที่อยู่อาศัย และร่องรอยต่างๆ ที่มนุษย์ยุคนั้นทิ้งไว้ เช่น ภาพเขียนตามผนังถ้ำและเพิงผาโครงกระดูก เมล็ดพืช และซากสัตว์

                 สมัยก่อนประวัติศาสตร์สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
          ๑. ยุคหิน     คือ ยุคที่มนุษย์รู้จักนำหินมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งแบ่งตามลักษณะของเครื่องมือหินออกได้อีก ๓ ยุค ได้แก่

      ·       ยุคหินเก่า
      ·       ยุคหินกลาง
      ·       ยุคหินใหม่
           ๒. ยุคโลหะ    คือ ยุคที่มนุษย์รู้จักนำโลหะมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ยุค ได้แก่
      ·       ยุคสำริด
      ·       ยุคหินเหล็ก


                2.  สมัยประวัติศาสตร์
             สมัยประวัติศาสตร์ คือ สมัยที่มีการใช้ลายลักษณ์อักษรในการสื่อสาร ปัจจุบันการแบ่งช่วงสมัยประวัติศาสตร์ไทย มีหลายแนวคิดแบ่งตามการแบ่งช่วงสมัยประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ พ.ศ. ๘๐๐        ดังนั้นการแบ่งช่วงสมัยประวัติศาสตร์ไทยจึงถือว่าตั้งแต่ประมาณพ.ศ. ๘๐๐ ลงมา

            สมัยประวัติศาสตร์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย แบ่งตามระยะเวลาของเมืองหลวง ดังนี้
          ๑.สมัยก่อนสุโขทัย เริ่มต้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๘๐๐  
           
             เนื่องจากประมาณเวลาช่วงดังกล่าวมีบันทึกของพ่อค้านักเดินทางสำรวจชาวโรมันหรืออียิปต์โบราณ กล่าวถึง ดินแดนแหลมทอง หรือสุวรรณภูมิโดยเรียกว่า ไครเช(Chryse) หรือโกลเดน เคอร์ซอนเนส ( Golden Khersonese ) ซึ่งแปลว่าแหลมทอง ดั้งนั้น จึงถือว่าประวัติศาสตร์ไทยเริ่มต้นประมาณ พ.ศ. ๘๐๐ต้นมา

             ๒.สมัยสุโขทัย( ประมาณ พ.ศ. ๑๗๙๒  ๒๐๐๖ )

              เริ่มจากปีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์สมบัติและสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีจนกระทั่งเมื่อสุโขทัยถูกรวมกับอาณาจักรอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๖

             ๓.สมัยอยุธยา ( พ.ศ. ๑๘๙๓  ๒๓๑๐ )  
           
               เริ่มจากปีที่รามาธิบดีที่ ๑ ( อู่ทอง ) ขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงอยุธยาเป็นเมืองหลวง เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ จนถึงปีสุดท้ายในรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทรพระเจ้าเอกทัศ ) เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ ซึ่งเป็นปีที่กรุงศรีอยุธยาล่มสลาย

             ๔. สมัยธนบุรี ( พ.ศ. ๒๓๑๐  ๒๓๒๕ )  

                 เริ่มจากปีที่พระเจ้าตากสินมหาราชขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงธนบุรเป็นเมืองหลวง เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ จนถึงปีสุดท้ายของรัชกาล เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕
           ๕.สมัยรัตนโกสินทร์ ( พ.ศ. ๒๓๒๕ – ปัจจุบัน)   

                 เริ่มจากปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวง เมื่อ พ.ศ. จนถึงปัจจุบัน

      6.อารยธรรมอิสลาม
      ยุคแรก  - มีศนูยก์ลางที่ > เมกกะห และ เมดนิะห์ (**สว่นใหญ่) - ผนู้ าศาสนาต่อจากท่านศาสดา > เรยีกต าแหน่งน้ีว่า .>  กาหลบิ หรอื คอลฟิะห ์(Caliphate / Caliph ) - ท่านนบมีฮูมัหมดั .> กาหลบิ อาบบูกัร(์Abu Bakr) > กาหลบิ อมูาร์(Umar) >กาหลบิ อุษมาน(Uthman) > กาหลบิ อาล(ีAli) - กาหลบิทงั้ 4 ท่าน ดา รงต าแหน่งอยรู่วม 29 ปี 6 เดอืน 4 วนั - กาหลบิ 4 คนแรก เป็นกาหลบิทม่ีุสลมินิกายต่าง ๆ ใหก้ารยอมรบั เพราะเป็นบุคคลทม่ีีความใกลช้ดิสนิทและมคีวามสมัพนัธก์บัท่าน ศาสดานบมีฮูมัหมดัตงั้แต่แรก - กาหลบิ 4 คนแรก มคีวามสมัพนัธท์เ่ีกย่ีวของกบัท่านศาสดามฮูมัหมดั โดยเกย่ีวขอ้งกนัทางสายเลอืด  เครอืญาติ สหาย - ทงั้ กาหลบิอุษมาน และ กาหลบิอาล(ีถูกสงัหารในปี ค.ศ. 661) ทงั้ 2 ถูกสงัหาร - ยุคน้ีเป็นช่วงก่อร่างสรา้งศาสนาอสิลาม - ยุคน้ียดึครองอยีปีต ์ซเีรยี และ เปอรเ์ซยี ได ้> ทา ใหอ้ารยธรรมอสิลามขยายครอบคลุมทงั้ดนิแดนตะวนัออกกลาง 
      ยุคท ่ี2 - สมยัราชวงศอ์ุมยัยะห(์Umayyads) - เขา้มายดึอา นาจและตงั้ราชวงศ ์(เป็นราชวงศ์ทเ่ีป็นผนู้ าศาสนาทไ่ีมม่คีวามสมัพันธท์างเครอืญาตเิหมอืนกาหลบิ 4 คนแรก) - การเป็นผนู้ าศาสนา(กาหลบิ) ตอนน้อีาศยัการสบืทอดจากสายเลอืดตามมรดกตกทอดของราชวงศ์ - กลุ่มมุสลมิการไมย่อมรบัในอา นาจของการเป็นผนู้ าศาสนาของราชวงศอ์มุยัยะห ์> คอืกลุ่มทเ่ีรยีกตวัเองว่า ชอีะห(์Shia) ซง่ึต่อมาคอืนิกาย ชอีะห์ กลุ่มน้ยีอมรบัผนู้ าศาสนาทม่ีคีวามสมัพนัธท์างสายเลอืดทเ่ีกย่ีวขอ้งกบัท่านศาสดานบมีฮุมัหมดัเท่านนั้ (ชุมชนมุสลมิเกดิการแตกแยก :  ชาวมุสลมิกลุ่มหน่งึต้องการความสงบสขุ ชาวมุสลมิสว่นน้ีจงึยอมรบัการปกครองของราชวงศอ์มุยัยะห์  คน เหล่าน้ถีูกเรยีกว่า ชาวซุนน่ี (Sunnis) หมายถงึสาวกของซุนนะห์ (Sunnah) หรอืผปู้ฏบิตัติามแบบอย่างท่านนบีมฮูมัหมดั  อย่างไรกต็ามชาว มุสลมิอกีกลุ่มไดต้่อตา้นการปกครองของราชวงศอ์มุยัยะห์และปฏเิสธทจ่ีะยอมรบัการปกครองและการเป็นกาหลบิของราชวงศ์อมุยัยะห์  น้ ี พวกเขาเช่อืว่า ปกตแิลว้ กาหลบิควรจะเป็นญาตขิองท่านศาสดา  กลุ่มน้จีงึถูกเรยีกว่า ชอีะ (Shi’a) หมายถงึ "พรรคพวก (party)" ของอาล ี สมาชกิของนิกายน้รีจู้กักนัว่า ชีอะห์ (Shiites) การแตกแยกในศาสนาอสิลามน้จีะกลายเป็นการแตกแยกแบบถาวรจนเกดิเป็นนิกายในทส่ีดุ) - ยา้ยศนูยก์ลางอาณาจกัรจากเมอืงเมดนิะห์มาทก่ีรุงดามสักสั(Damascus)  ซเีรยี  - กรุงดามสักสัเดมิเป็นเมอืงทถ่ีกูปกครองโดยจกัรวรรดไิบแซนไทน์ 
      - ขยายดนิแดนไปกวา้งขวางมาก เดมิจากมพีน้ืทค่ีรอบคลมุ เฉพาะตะวนัออกกกลาง(อาระเบยี อยีปีต ์เปอรเ์ซยี)  โดยขยายไปเพมิ่ ไปทาง ตะวนัตกทางตอนเหนือของแอฟรกิา แอฟรกิาตะวนัตก และ เขา้ไปยงัคาบสมุทรไอบเีรยี(Iberia) คอื สเปน   ทางตะวนัออกไปยงัเอเชยีกลาง และแพร่ขยายไปจรดอนิเดยี - ในสมยัน้ีจักรวรรดอิสิลามมอีาณาเขตกวา้งขวางมากทส่ีดุ และ มเีอกภาพภายใตร้าชวงศอ์ุมยัยะห์ - วางระบบการปกครองจกัรวรรดใิหม่  ใชร้ะบบเจา้ขนุมลูนาย > โดยแต่งตงั้ตระกลูทอ้งถนิ่ชว่ยปกครอง เรยีก อะเมยีร(์Emirs)  - มกีารเปลย่ีนแปลงระบบการปกครองจากสาธารณรฐัเป็นราชอาณาจกัร โดยเปลย่ีนจากต าแหน่งเคาะลฟีะห์กลายเป็นต าแหน่งกษตัรยิโ์ดย การสนืสนัตวิงศท์างสายเลอืด - ใชภ้าษาอาหรบัเป็นภาษากลางในการบรกิารอาณาจกัร - Dome of the Rock สรา้งข้ึนในสมยั เคาะลฟีะห ์อบัดุลมาลดิ ซง่ึเป็นมสัยดิทส่ีวยงามและมชี่อืเสยีงมากในกรงุเยรซูาเลม็ สรา้งในปี ค.ศ. 691 พระองคท์รงเป็นนกัสรา้งทย่ีง่ิใหญ่ ทรงบรูณะและขยายมสัยดิมสัยดิอลัอกัซอในเยรซูาเลม็ - การจารกิแสวงบญุท่ีเมอืงเมกกะหใ์นการประกอบพธิฮีจัจ(์Hajj) ช่วยผสมกลมกลนืทางวฒันธรรมในดนิแดนต่าง ๆ ในจกัรวรรด ิมากขน้ึ เพราะสมยัน้ีศาสนาอสิลามแพรไ่ปยงักลุ่มชนต่าง ๆ ทห่ีลากหลายไม่เฉพาะกลุ่มชาวอาหรบัในตะวนัออกกลางเท่านนั้ - เป็นสมยัทพ่ีชิติดนิแดนต่าง ๆ อย่างกกวา้งขวาง และ ทา ใหศ้าสนาอสิลามเผยแพร่ไปอย่างกวา้งขวาง - เป็นสมยัทม่ีกีารขยายดนิแดนไดอ้ย่างกวา้งขวางครอบคลุมถงึ 3 ทวปี ไดแ้ก่ ทวปีเอเชยี ทวปียโุรป ทวปีแอฟรกิา - มกีารออกเหรยีญ เงนิ อาหรบัใชเ้อง - มกีารปรบัปรุงการเขยีนภาษาอาหรบัโดยการน าเอาสระและเคร่อืงหมายจุดมาใชใ้นภาอาหรบั - มีการบรูณะ ขยายมสัยดิแหง่เมดนีะห์และมสัยดิอนัอกัซอ(ในเยรซูาเลม็) ไดม้กีารสรา้งมสัยดิขน้ึทุกเมอืง - ยุคปลายสมยัราชวงศอ์ุมยัยะห ์ ถูกกลุ่มอ่นืมองว่าครองอา นาจ และ ใชช้วีติทห่ีรหูร่า จนน ามาสู่ - ถูกราชวงศอ์บับาซยิะหย์ดึอา นาจ และ อบัดุลเลาะหม์าน ผนู้ าราชวงศอ์ุมยัยะห ์คนสดุทา้ย หนไีปยงัสเปนทต่ีงั้การปกครองทเ่ีมอืงคอร์โดบา (Cordoba) บนคาบสมุทรไอบเีรยี 
        
      ยุคที่3 - สมยัราชวงศอ์บับาซยิะห ์หรอื อบับาซดิส ์(Abbaside) ค.ศ. 763-1110 - ราชวงศอ์บับาซยิะห ์ลม้ราชวงศอ์ุมยัยะห ์และ ตงั้ราชวงศใ์หมป่กครองจกัรวรรดอิสิลาม - ราชวงศอ์บับาซยิะห์ ตอ้งการใหช้าวมุสลมิต่าง ๆ ในจกัรวรรดยิอมรบัในฐานะผปู้กครองผนู้ าศาสนา โดยใหช้าวมุสลมิอ่นื ๆทไ่ีม่ใช่ชาว อาหรบัมฐีานะทเ่ีสมอภาคเท่ากบัมุสลมิทเ่ีป็นชาวอาหรบั - สมยัน้ีจกัรวรรดอิสิลามแตกแยกออกเป็นหลายสว่น คอืตะวนัออก และ ตะวนัตก - ยา้ยศนูยก์ลางอาณาจกัรมาทก่ีรุงบกแดด(Baghdad)  อริกั ในปี ค.ศ. 762   เพราะกลมุ่ทส่ีนบัสนุนราชวงศอ์บับาซยิะหส์ว่นใหญ่อย่แูถบเมอืง น้ี - กรุงแบกแดดเดมิเป็นศนูยก์ลางการคา้ระหว่างโลกตะวนัออกกบัโลกตะวนัตกอย่แูลว้ สง่ผลให้ยุคน้ีเศรษฐกจิมงั่คงั่ ร่า รวย - เป็นยุคทองของวฒันธรรมอสิลาม(ยุคฟ้ืนฟูแห่งอิสลาม) - มกีารสร้างสรรค์ศลิปะอสิลาม ทเ่ีรยีกว่า ศลิปะอะราเบสก(์Arabesque) เป็นศลิปะทไ่ีมม่รีปูคนหรอืสตัว ์เพราะขดักบัหลกัศาสนาอสิลามมี เพยีงการใชร้ปูพชื ถาวลัย ์รปูเรขาคณิต และ ตวัอกัษรอาหรบั เป็นหลกั - วรรณกรรม พนัหน่ึงราตร(ีทวิาราตร)ี (The Thousand and One Nights) หรอื อกีช่อืหน่ึงคอื อาหรบัราตร(ีArabian Nights) ทร่ีจู้กัดใีนช่อืท่ี น าไปใชส้รา้งระคร อะลาดนิ(Aladin)   - โอมาร ์คยัยาม(Omar Khayyam)เป็นชาวเปอรเ์ซยี  เป็นกว ี วรรณกรรม มกีารแต่งวรรณกรรมทม่ีชี่อืเสยีง คอื รไุบยาต(Rubaiyat) ซง่ึเป็น วรรณกรรมภาษาเปอรเ์ซยี   ,เป็นนักดาราศาสตร์ ดา เนินการแกไ้ขปรบัปรุงปฏทินิ   ,เป็นนกัคณิตศาสตร์ศกึษาจากความรขู้องกรกี และพฒันาการศกึษารปูเรขาคณติ - อลั ควารซิม ี(Al Khrarizmi)  1) พฒันาระบบตวัเลข  โดยไดน้ าระบบตวัเลขจากนกัวชิาการชาวอนิเดยี มาพฒันา  ระบบตวัเลข อาระบกิ   เป็นตวัเลขทเ่ีราใชใ้นทุกวนัน้ ี(เน่อืงจากนกัวชิาการอสิลามไดร้บัเอาความรมู้าจากอนิเดยี เพ่อืใหเ้ป็นเกยีรตแิก่นกัวชิาการชาว อินเดีย ปัจจุบัน เราจึงเรียกว่า ระบบตัวเลขฮินดู-อาระบกิ (Hindu-Arabic system)   2) พฒันาคณติศาสตรด์า้น พชีคณิต และ ตรโีกณมติิ - อลั ราช ี(Al Razi) เป็นชาวเปอรเ์ซยี ไดพ้ฒันาการศกึษาการแพทยโ์ดยการระบโุรค - อบิ ชนีา (Ibn Sina)  เขยีนคมัภรีแ์พทย ์และจดัระเบยีบความรแู้พทย์ - มกีารตงั้สถานพยาบาลจา นวนมาก - ช่วงปลายราชวงศ์อับบาซิยะห์ มีปัญหาในด้านการปกครองจักรวรรดิ 

       ยุคท ่ี4 - สมยัราชวงศอ์ุษมานิยะห์ หรอื ราชวงศ์ออตโตมาน (Ottoman) ค.ศ. 1299-1922 - เป็นราชวงศข์องชาวเตริก์(Turk)  / เซลจุกเตริก์ (Seljuk Turk) - เขา้ยดึกรุงแบดแดด  แต่ไมท่า ลายใหป้ล่อยปกครองต่อไป - รางวงศน์้เีดมิไม่ไดเ้ป็นอสิลาม ต่อมาเขา้รบันบัถอืศาสนาอสิลามภายหลงั - ศาสนาอสิลามขยายเขา้สเู่อเชยีไมเนอร(์Asia Minor)  หรือประเทศตุรกีในปัจจุบันนี้ - ค.ศ. 1071 ยดึกรุงเยรซูาเลม็ ในปาเลสไตน์ - ค.ศ. 1090 เขา้ตกีรุงคอนสะแตนตโินเปิล ของ จกัรวรรดไิบแซนไทน์ (เริ่มรุกรานศูนย์กลางจักรวรรดิ์ไบแซนไทน์) - เป็นสมยัทเ่ีกดิสงครามศาสนาครสิต ์และอสิลาม ทร่ีจู้กักนัในชอ่ืสงครามครเูสด(Crusades) (จากการขยายอา นาจของอสิลามเขา้สดู่นิแดน ของอาณาจักรไบแซนไทน์เดิมโดยเข้ายึดครองทั้งกรุงเยรูซาเล็มซึ่งเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ที่ส าคัญของศาสนาคริสต์  จกัรพรรดอิเลก็ซอีุสท ่ี1 คอมนีมุสแห่งจกัรวรรดไิบแซนไทน์ (Alexius I Comnenus) จงึไดส้ง่พระราชสาสน์ไปขอความช่วยเหลอืจากพระสนัตะปาปาเออรบ์นัท ่ี2 (Pope Urban II) ผปู้กครองศาสนจกัรใหส้ง่กองทพัครสิเตยีนไปช่วยปราบปรามชาวมุสลมิ   อนัเป็นจดัเรมิ่ตน้ของสงครามครเูสด (Crusades) ครงั้ท ่ี1 ใน ค.ศ. 1096 ซง่ึเป็นสงครามศาสนาระหว่างกองทพัครสิเตยีนกบักองทพัมุสลมิทย่ีืดเยอ้ืยาวนานไปจนถงึปี ค.ศ. 1291) - ค.ศ. 1258 กองทพัมองโกลเขา้ตกีรุงแบกแดด  ทา ลายเมอืง   ฆา่ราชวงศ์อบับาซยิะห ์ ราชวงศอ์บับาซยิะหล์่มสลาย - สมยัสลุต่านอะหเ์มดท ่ี2 (Ahmed II) ทา การพชิติกรงุคอนสะแตนตโินเปิล ของ จกัรวรรดไิบแซนไทน์ ในค.ศ. 1453 ไดส้า เรจ็ และไดใ้ชเ้ป็น ศนูยก์ลางอาณาจกัรออตโตมานเตริก์ - เปลย่ีนช่อืกรุงคอนสะแตนตโินเปิล(Constantinople) มาเป็น อสิตลับลู(Istanbul) - ต่อมาพฒันาเป็น จกัรวรรดอิอตโตมานเตริก์(Ottoman Turk) - จกัรวรรดอิอตโตมานเตริก์(Ottoman Turk) หมดอา นาจลงในช่วงหลงัสงครามโลกครงั้ท ่ี1 (อาณาจักรออตโตมนัล่มสลายในปี ค.ศ. 1923 มี จกัรพรรดเิมหเ์หมด็ท ่ี6 เป็นจกัรพรรดอิงคส์ดุทา้ย และมสีาธารณรฐัตุรก ีขน้ึมาแทนท ่ีและมมีุสตาฟา เคมาล อตาเตริก์(Mustafa Kemal Ataturk) เป็นประธานาธบิดคีนแรก) 
      อบัดุลเลาะห์มาน ผนู้ ารุ่นสดุทา้ยของราชวงศอ์ุมยัยะห(์Umayyads) ทถ่ีูกราชวงศอ์บับาซยิะห ์ยดึอา นาจ และหนีไปทส่ีเปน และปกครองท่ี เมอืงคอรโ์ดบา(Cordoba) ในปี ค.ศ. 1240 ฝ่ายคริสเตียนในสเปน > ขบัไล่อสิลามออกจากดนิแดนสเปน ทา ใหศ้าสนาอสิลามหมดอทิธใิน คาบสมุทรไอบเีรยีนในเวลาต่อ
      7.อารยธรรมอะมอไรต์
      ชาวอมอไรด์
       
      ชาวอมอไรท์หรือชาวบาบิโลเนีย  ประมาณปี 2000 ก่อนคริสตกาล อมอไรท์เป็นเซมิติค เร่ร่อนจากซีเรียเข้ารุกรานดินแดนตะวันตกของอัคคัต ภายใต้การนำของฮัมมูราบี (Hummurabi 1792-1750 B.C.) กษัตริย์องค์ที่ ของอมอไรท์ ได้รวมดินแดนซูเมอร์-อัคคัต เข้าด้วยกัน ก่อตั้งจักรวรรดิบาลิโลเนียครั้งที่หนึ่งขึ้น (The First Babylonian Empire) ที่เมือง บาบิโลน (Badylon) บนฝั่งแม่น้ำยูเฟรตีส เป็นเมืองหลวงสมัยของกษัตริย์ฮัมมูราบี คือ ยุคทองของจักรวรรดิบาบิโลน
      บาบิโลนเข้มแข็งขึ้นตามลำดับจนได้เป็นนครใหญ่ของอาณาจักรเมโสโปเตเมียทั้งหมด ต่อมาเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายว่าจักรวรรดิบาบิโลเนีย พวกบาบิโลนสามารถเอาชนะบรรดาเพื่อนบ้านคือพวกอัคคาเดียน และสุเมเรียนได้
      พระเจ้าฮัมมูราบีทรงเป็นกษัตริย์ที่สามารถรวบรวมดินแดนแม่น้ำไทกริส - ยูเฟรตีส เข้าไว้ในอำนาจแต่เพียงผู้เดียว และสถาปนารัฐบาลที่เข้มแข็งขึ้นปกครองบาบิโลนซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเพียงเมืองเล็กๆ ที่ไม่มีความหมายนักกลายเป็นศูนย์กลางของนักปราชญ์ราชบันฑิตเป็นจักรวรรดิบาบิโลเนียแรก (First Babylonian Empire) ทรงปกครองอยู่ 43 ปี (1792-1750 B.C.)

      พระเจ้าฮัมมูราบี
      ประมวลกฎหมายของฮัมมูราบี
      การร่างประมวลกฎหมาย (Hammurabi Code)  พระเจ้าฮัมมูราบีทรงเป็นที่รู้จักในฐานะเป็น ผู้สร้างประมวลกฎหมายเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคม และจริยธรรมแห่งชีวิต ทรงกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดทำประมวลกฎหมายว่า “เพื่อผดุงความยุติธรรมให้คงอยู่ในแผ่นดิน ทำลายคนชั่วและคนร้าย ป้องกันคนแข็งแรงข่มเหงคนที่อ่อนแอกว่า...และเพื่อพัฒนาสวัสดิการสำหรับประชาชน
      ประมวลกฎหมายนี้จารึกอยู่บนแผ่นดินไดโดไรท์สีดำ ขนาดสูง ฟุต จารึกด้วยอักษร Cuniform ประมวลกฎหมายนี้ประดิษฐ์ไว้ในวิหารของเทพมาร์คุด (marduk) ซึ่งเป็นเทพสูงสุดของบาบิโลน ต่อมาทีมนักโบราณคดีฝรั่งเศสขุดพบที่ ประเทศอิรัก ในช่วงฤดูหนาวปี 1901 ถึง 1902 หินสลักนี้แตกเป็น ชิ้น และได้รับการบูรณะ ตอนบนของแผ่นหินมีรูปแกะสลักภาพเทพเจ้ากำลังประทาน ประมวลกฎหมายให้แก่ ฮัมมูราบี ปัจจุบัน ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ กรุงปารีส แผ่นหินนี้นับเป็นโบราณวัตถุที่มีค่ายิ่งในทางประวัติศาสตร์ เพราะข้อความในประมวลกฎหมายสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของสังคม Babylonia ในสมัยนั้นเป็นอย่างดี ทำให้เราทราบว่า Babylonia ประกอบขึ้นด้วยคนชั้นต่างๆ คือ กรรมกรและทาส
       

      กฎหมายฮัมมูราบี
      กฎหมายของฮัมมูราบี
      1.                    คล้ายกฎหมายของพวกสุเมเรียน คือ อาศัยหลัก Lex talionis คือ ใช้ลัทธิสนองตอบ คือ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน (An eye for an eye , a tooth for a tooth)
      2.                    มีความเปลี่ยนแปลงไปจากกฎหมายของพวกสุเมเรียน คือ การให้ความยุติธรรมนั้นต้องเป็นหน้าที่ของรัฐ (การให้ความยุติธรรมในสมัยแรกเริ่มนั้นเป็นหน้าที่ของบุคคล)
      3.                    ให้สิทธิแก่สตรี สตรีมีสิทธิฟ้องสามีได้
      4.                    การค้าขายจะต้องได้พระบรมราชานุญาต จำกัดกำไรให้เพียง 20%
      5.                    กำหนดเวลาการตกเป็นทาสหนี้สินเพียง ปี
      ทั้งนี้เป็นเพราะนอกจากจะทรงสามารถในการรบและการปกครองเป็นผลให้ จักรวรรดิขยายกว้างใหญ่ไพศาล ฮัมมูราบีปรับปรุงอารยธรรมสุเมเรียนให้ดีขึ้น และในที่สุดจักรวรรดิ บาบิโลนก็ได้เริ่มเสื่อมลงเป็นลำดับภายหลังการสิ้นพระชนม์ของฮัมมูราบีเพราะ
      1.กษัตริย์ผู้สืบทอดต่อมาไร้ความสามารถในการปกครองและการรบ เป็นผลให้กลุ่มชนภายใต้ การปกครองของอะมอไรท์ดำเนินการแยกตนเป็นอิสระ
      2.ประมาณปี 1590 ก่อนคริสตกาล ฮิตไตท์ชนชาตินักรบจากเอเซียไมเนอร์ เข้ารุกรานมุ่งยึด กรุงบาบิโลนแต่ไม่สำเร็จ
      3. การก่อกวนของเฮอเรีย (Hurrians) แห่งอาณาจักรมิทานมิ (Mitanni) อาณาจักรนี้ตั้งอยู่ ทางตอนเหนือของลุ่มแม่น้ำยูเฟรตีส

      4.  งบประมาณปลายศตวรรษที่ 16 ก่อนคริตกาล คัสไซส์ (Kassites) อนารยชนจากเทือกเขา ใกล้ดินแดนเปอร์เซียตะวันตกเข้ารุกรานและโค่นอำนาจอะมอไรท์ได้สำเร็จ

      ความคิดเห็น